Welcome

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger วิชาประวัติศาสตร์ จัดทำโดย เจนจิรา สุธาวา ม.2/8 เสนอ ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา

ข่าว

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

001-หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ -------------------------------------------------------------------------------- •หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนของวิธีการทางxระวัติศาสตร์ •หลักฐานทางประวัติศาสตร์ •การประเมินคุณค่าของหลักฐาน •การตีความหลักฐาน •การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ -------------------------------------------------------------------------------- ขั้นที่ 1 การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา เลือกหัวข้อหรือประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่สนใจ ขั้นที่ 2 การรวบรวมหลักฐาน ศึกษาจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ และใช้หลักฐานอื่นประกอบ ขั้นที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน ต้องวิเคราะห์ประเมินค่าว่าหลักฐานใดเป็นของแท้ ไม่ใช่ของปลอม ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลแยกแยะและรวมประเด็น แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดเป็นหมวดหมู่ ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ นำข้อมูลทั้งหลายมาเรียบเรียงหรือนำเสนอแก่บุคคลทั่วไป หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร -------------------------------------------------------------------------------- หลักฐานของไทย มีพระราช-พงศาวดารฉบับต่างๆ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ หลักฐานของต่างชาติ เช่น จดหมายเหตุลาลูแบร์ สำเภากษัตริย์สุลัยมาน หมิงสือลู่ ชิงสือลู่ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร -------------------------------------------------------------------------------- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลายประเภท เช่น พระราชวังเก่าที่พระนครศรีอยุธยา ที่ลพบุรี วัด ศิลปวัตถุ และหมู่บ้านชาวต่างชาติ ซึ่งสามารถใช้ประกอบกับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการศึกษาค้นคว้า เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน -------------------------------------------------------------------------------- •เป็นของแท้หรือของทำเลียนแบบ ดูได้จากวัสดุที่ใช้เขียน รูปแบบตัวเขียน สำนวนภาษา •การศึกษาภูมิหลังของผู้ทำหรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น เป็นพวกเดียวกัน เป็นศัตรู หรือเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่บันทึกหรือไม่ •วัตถุประสงค์ของการจัดทำ โดยพิจารณาว่าเพราะเหตุใดจึงมีการบันทึกเรื่องนั้นๆ •ช่วงระยะเวลาที่จัดทำหลักฐาน โดยพิจารณาว่าจดบันทึกแบบทันที หรือเวลาผ่านไปนานแล้วจึงจดบันทึก •รูปลักษณ์ของหลักฐาน หากเป็นรายงานราชการจะกระชับ เขียนตามระเบียบ หากเป็นบันทึกส่วนตัว จะเขียนเชิงพรรณนา การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ -------------------------------------------------------------------------------- การแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ซึ่งอาจตรงกัน หรืออาจขัดแย้งกันบ้าง ความคิดเห็น เป็นข้อมูลส่วนที่ผู้บันทึก หรือผู้ใช้หลักฐานคิดว่าน่าจะเป็นอย่างไร การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง -------------------------------------------------------------------------------- ความจริง คือ ข้อมูลหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เช่น ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112 และ พ.ศ. 2310 ข้อเท็จจริง คือ ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน -------------------------------------------------------------------------------- ตัวอย่าง ช่วงเวลาการครองราชสมบัติของพระเจ้าทรงธรรม หลักฐานของไทยที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงไว้ไม่ตรงกัน ในการตรวจสอบเรื่องนี้ ถ้าหลักฐานของไทยขัดแย้งกัน ก็อาจหาหลักฐานต่างชาติมาช่วยตรวจสอบ ที่สำคัญ คือ หลักฐานของพ่อค้าฮอลันดาที่เข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาจดบันทึกไว้ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ช่วงเวลาการครองราชสมบัติของพระเจ้าทรงธรรม คือ ระหว่าง พ.ศ. 2154-2173 รวมเวลา 17 ปี ความสำคัญของการตีความทางประวัติศาสตร์ -------------------------------------------------------------------------------- เพื่ออธิบายเรื่องราวที่ปรากฏในหลักฐาน เพื่อตีความ วิเคราะห์ความสำคัญของหลักฐาน เพื่อวิพากษ์ หรือวิจารณ์หลักฐานว่ามีความเที่ยงตรง ไม่ลำเอียง ช่วยอธิบายความถูกผิดของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐาน เพื่ออธิบายข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานให้เข้าใจง่ายขึ้น ตัวอย่างการตีความข้อมูลจากหลักฐาน -------------------------------------------------------------------------------- (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) “เสด็จทรงช้างต้นพญาไชยานุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราชา (ที่) ตำบลหนองสาหร่าย... แลได้ ชนช้างด้วยพระมหาอุปราชานั้น... ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้าง ตายในที่นั้น” ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อมูลนี้ตีความได้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จทรงช้างต้น คือ พระยาไชยานุภาพ แล้วนำกองทัพไปต่อต้านกองทัพของพระมหาอุปราชาของพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนช้างหรือทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ทรงฟันพระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าวขาดบนคอช้างจนสิ้นพระชนม์ ความสำคัญของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล -------------------------------------------------------------------------------- ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล -------------------------------------------------------------------------------- เพื่อแยกข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงจากหลักฐานกับความคิดเห็นของบุคคล เพื่อแยกข้อมูลที่ตรงกัน หรือต่างกัน เพื่อแยกข้อมูลที่เป็นความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ ความสำคัญของการสังเคราะห์ข้อมูล -------------------------------------------------------------------------------- เพื่อจัดรวมข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน ทั้งที่เป็นข้อมูลสนับสนุนและขัดแย้ง เพื่อจัดลำดับเหตุการณ์ ความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เพื่อจัดรวมความคิดเห็นส่วนตัว ในการนำเสนอ ตัวอย่างการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐาน -------------------------------------------------------------------------------- “กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นสถานที่ที่ผู้คนเดินทางเข้ามาค้าขายทั้งโดยทางบกและทางน้ำ มีชาติต่างๆ จากเอเชียและพวกพ่อค้า คริสเตียน...พระเจ้าแผ่นดินและพระอนุชาของพระองค์ทรงส่งเรือลำหนึ่งบรรทุกสินค้ามีค่าผ่านตะนาวศรีไปยังโจฬะมณฑลทุกปี ทั้งทรงส่งไปยังกวางตุ้ง กับทรงส่งเรือสำเภา 2 หรือ 3 ลำไปยังที่อื่นๆ ในประเทศจีน…” -------------------------------------------------------------------------------- ที่มา : รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) -------------------------------------------------------------------------------- จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จะทำให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าของกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ซึ่งวัน วลิตได้เขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2180 ตรงกับรัชกาลนี้) เห็นความคึกคักของตลาดค้าขายที่มีพ่อค้าต่างชาติหลายชาติเข้ามาค้าขาย เช่น เรือสำเภาจีน